Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Gundam technical terms มารู้จักศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ใน Gundam กัน

มารู้จักศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ใน Gundam กันครับ



ผมจะพยายามรวบรวมเท่าที่รู้จัก ไม่ขึ้นกับว่ามาจากกันดั้มภาคไหน

ระบบต่อต้านนิวไทป์ NT-D (ในช่วงแรกนั้นระบุว่ามาจาก NewType Drive แต่ชื่อจริงได้รับการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่าเป็น NewType Destoyer) NT-D หรือ new type destroy เป็นระบบซึ่งสร้างมาเพื่อตอบสนองต่อการสังหารนักบิน new type ฝ่ายตรงข้าม

ไซโคเฟรมซึ่งมีเทคโนโลยีไซคอมมิว (Psycommu = Psychic communicator) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนั้น โดยเสริมยูนิตรับคลื่นจิตไว้โดยรอบห้องควบคุมทำให้มีการตอบสนองต่อนักบินที่เป็นนิวไทป์สูงมาก
 นเรื่อง ยูนิคิร์น กันดั้ม ... ไซโคเฟรมจะอ่านคลื่นสมองของนักบิน  และส่งไปตอบสนองกับระบบขับเคลื่อนของตัวหุ่นโดยตรง  ทำให้ประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวนั้นราวกับการเคลื่อนย้ายในพริบตาได้ทีเดียว

ฟินฟันเนล อาวุธควบคุมระยะไกลฟินฟันเนล ฟินฟันเนลสามารถแยกออกจากตัวนิวกันดั้มไปเพื่อยิงโจมตีเป้าหมายเหมือนปืนลำ แสงและยังสามารถสร้างบีมแบเรียร์ซึ่งสามารถป้องกันการโจมตีโดยทั่วไปได้รวม ถึงอาวุธบีมที่ไม่รุนแรงนักได้อย่างสมบูรณ์แบบ นิวกันดั้มไม่สามารถเก็บฟินฟันเนลกลับมาเติมเชื้อเพลิงของท่อขับดันได้ แต่ครีบของฟินฟันเนลสามารถโบกเพื่อใช้ควบคุมทิศทางเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง ได้ด้วยระบบ AMBAC (Active Mass Balance Auto Control)และมีเครื่องกำเนิดพลังงานในตัวจึงสามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน

อาวุธฟันเนล เป็นอาวุธยิงระยะไกล คล้ายๆกับปืนบินได้นั่นแหละ ควบคุมโดยพลังของนักบินที่เป็นนิวไทป์เท่านั้น ถูกนำมาใช้ครั้งแรกปี 0079 โดยถูกติดตั้งใน เอลเมส MA ของซีออนสำหรับนิวไทป์โดยเฉพาะออกรบครั้งแรกที่โซโลมอน ซึ่งในตอนนั้นอาวุธฟันแนลที่เราๆรู้จักกันนี้ถูกเรียกว่า"บิท" บิทนี้สามารถสร้าง ความเสียหายกับกองทัพสหพันธได้พอสมควรทีเดียว
ภายหลังอาวุธ "บิท" ซึ่งยังมีการควบคุมที่ยากเย็นเอาการ ได้ถูกฝ่ายนีโอ ซีออน พัฒนาขึ้น จนเป็นที่ง่ายต่อการควบคุมอีกทั้งยังมีความแม่นยำสูงกว่าบิท อาวุธบิทจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "ฟันเนล" ฟันเนลถูกติดตั้งในMSนิวไทป์ของซีออนหลายเครื่อง
บิทและฟันเนลนี้ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยพลังงานจากเครื่องแม่ คือพอยิงจนพลังงานหมดต้องกลับมาชาร์จพลังงานที่ตัวแม่ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราเห็นฟันเนลยิงๆไม่กี่ทีก็กลับเข้าเครื่องแม่อีกแล้ว



  อินคอม - เป็น quasi-psycommu system ครับ แปลว่า เป็น Phycommu Weapon เหมือนกัน
แต่มีตัวเชื่อมต่ออีกชั้นนึงที่ช่วยรองรับการทำงานกับคนธรรมดา ให้ได้งานออกมาเหมือน New Type แต่เนื่องจากมันไม่ได้เป้น Phycommu จริง ๆ ดังนั้นคำสั่ง (Brand Wave Commnad) ของ Pilot จะต้องวิ่งผ่านสาย Cable ไปที่ตัว Incom ครับ 


ดรากูนซิสเตม - ระบบที่ใช้ wireless quantum communication พัฒนามาจาก Gun barrel ไม่มีข้อมุลว่าเป้น Phycommu Weapon แต่ระบุไว้ว่า คนที่ใช้ได้ต้องมีความสามารถมากกว่าคนธรรมดาทั้วไป...

บิท - ก็แค่ อาวุธบิน(ไป)ยิง ในสาย Phycommu Weapon รุ่นแรก

แบนชี

 แบนชี



แท้จริงแล้วยูนิคอร์นกันดั้มยังมีเครื่องหมายเลข 2 หรือ แบนชี ซึ่งได้ทำการทดสอบโดยสถาบันออกัสตาบนโลกและใช้ข้อมูลของยูนิคอร์นกันดั้ม แบนชีนั้นมีสีดำและเมื่อเข้าสู่โหมดเดสทรอย เสาอากาศที่ส่วนหัวจะกางออกคล้ายกับแผงคอของสิงโตและ แสงจากไซโคเฟรมจะเป็นสีทอง ความสามารถโดยรวมของแบนชีจะใกล้เคียงกับยูนิคอร์น แต่สามารถต่อสู้กลางอากาศได้ดีกว่าและไม่มีลาพลัส นักบินของแบนชีก็คือมาริดา ครูซ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นริดดี มาเซนัส

กันดั้มยูนิคอร์น เรื่องย่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
ยูนิคอร์นกันดั้ม(ี่ปุ่น: ユニコーンガンダム  ;อังกฤษ: Unicorn Gundam) เป็นโมบิลสูทตัวเอกของไลท์โนเวลและโอวีเอ โมบิลสูทกันดั้มยูนิคอร์น ออกแบบโดยฮาจิเมะ คาโทกิ ชื่อยูนิคอร์นมาจากลักษณะที่มีเขาเสาอากาศเสาเดียวอยู่กลางหน้าผาก

ยูนิคอร์นกันดั้มเป็นโมบิลสูทที่ได้รับการพัฒนาในโปรเจกต์UC มีลักษณะเด่นที่ใช้ระบบไซโคเฟรมควบคุมทั้งตัวและยังมีระบบต่อต้านนิวไทป์ NT-D (ในช่วงแรกนั้นระบุว่ามาจาก NewType Drive แต่ชื่อจริงได้รับการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่าเป็น NewType Destoyer) และลาพลัส (La+) ซึ่งกุญแจสำหรับนำทางไปยังกล่องของลาพลัสซึ่งเป็นที่ที่เก็บซ่อนความลับของการตั้งสหพันธ์โลกและอาณาจักรซีอ้อนไว้
คาเดียส วิสต์ ผู้นำของตระกูลวิสต์ซึ่งนำยูนิคอร์นกันดั้มไปให้แอนาไฮม์อิเล็กทรอนิกที่ อาณานิคมอินดัสเทรียล7และติดตั้งลาพลัสไว้กับยูนิคอร์น แต่อินดัสเทรียล7ก็ถูกกองกำลังของนีโอซีอ้อนเข้าโจมตีและคาเดียสก็ได้รับบาด เจ็บสาหัส ก่อนตายนั้นคาเดียสได้มอบยูนิคอร์นกันดั้มให้ บานาจ ลิงซ์ นักเรียนของวิทยาลัยอุตสาหกรรมแอนาไฮม์ซึ่งเป็นลูกชายของตัวเองขึ้นควบคุม เนื่องจากระบบของลาพลัสได้ลงทะเบียนบานาจไว้ในฐานะนักบินของยูนิคอร์นกัน ดั้มแล้ว จึงไม่มีใครสามารถบังคับยูนิคอร์นกันดั้มได้อีก

ความสามารถ

ในเวลาปกติ ยูนิคอร์นกันดั้มจะอยู่ในโหมดยูนิคอร์น ซึ่งเป็นสีขาวทั้งตัว แต่เมื่อเข้าต่อสู้กับศัตรูที่เป็นนิวไทป์ ระบบ NT-Dจะทำงานโดยอัตโนมัติและยูนิคอร์นกันดั้มจะเข้าสู่ เดสทรอยโหมด ซึ่งเขาของยูนิคอร์นกันดั้มจะกางออกเป็นแบบVฟินและเกราะหน้าจะเปิดออกเป็น แบบกันดั้มทั่วๆไป นอกจากนี้เกราะทั้งตัวของยูนิคอร์นจะเลื่อนเปิดให้ ในสภาพนี้ไซโคเฟรมจะส่องแสงสีแดงและความสูงของยูนิคอร์นกันดั้มจะสูงขึ้นสอง เมตร ในโหมดเดสทรอยนี้ สมรรถนะของยูนิคอร์นกันดั้มจะเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าของโหมดยูนิคอร์น โดยเฉพาะการควบคุมด้วยพลังจิตผ่านไซโคเฟรมทำให้นักบินสามารถควบคุมยูนิคอร์ นกันดั้มได้เหมือนร่างกายตัวเอง แต่เนื่องจากโมบิลสูทมีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์มาก นอกจากนั้น ชุดนักบินของยูนิคอร์นกันดั้มยังได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้ช่วยกระตุ้นสาร เคมีในร่างกายนักบินเพื่อให้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูงได้ สภาพร่างกายและจิตใจของนักบินจึงต้องรับภาระหนัก ยูนิคอร์นกันดั้มจึงสามารถต่อสู้ในโหมดเดสทรอยได้เพียงห้านาทีเท่านั้นก่อน กลับเป็นโหมดยูนิคอร์น ในโหมดเดสทรอยนี้ ยูนิคอร์นกันดั้มยังมีความสามารถควบคุมอาวุธไซคอมมิวของศัตรูและบังคับให้ กลับไปทำลายเจ้าของได้

อุปกรณ์

อาวุธของยูนิคอร์นกันดั้มประกอบด้วยบีมเซเบอร์สี่เล่ม โดยสองเล่มแรกนั้นติดไว้ที่แขนและสามารถพับใช้งานโดยไม่ต้องใช้มือถือเหมือน เป็นทอนฟาได้ ส่วนอีกสองเล่มอยู่ที่แบ็คแพ็คซึ่งเมื่อเป็นเดสทรอยโหมดจะเลื่อนขึ้นมาด้าน บน ในตำแหน่งเดียวกับกันดั้มรุ่นแรก บีมไรเฟิลของยูนิคอร์นกันดั้มเป็นบีมแม็กนัมซึ่ง ใช้ตลับEแพ็คแบบพิเศษ บีมแม็กนัมนี้สามารถยิงได้ทั้งลำแสงแบบปกติและลำแสงอานุภาพสูงซึ่งจะใช้ พลังงานทั้งหมดจากตลับEแพ็คในครั้งเดียว บีมที่ยิงโดยใช้พลังงานทั้งหมดนี้มีพลังทำลายเทียบได้กับเมก้าบีมแคนน่อนและ สามารถยิงได้ต่อเนื่องสี่วินาที โดยยูนิคอร์นกันดั้มจะมีEแพ็คสำรองอีกห้าตลับเก็บไว้ที่แบ็คแพ็ค โล่ของยูนิคอร์นกันดั้มก็จะกางออกเมื่อเป็นโหมดเดสทรอยเช่นกัน และในสภาพนี้เครื่องกำเนิดสนามพลังIฟิลด์บาเรียร์ที่ติดอยู่กับโล่จะทำงาน ทำให้สามารถป้องกันอาวุธบีมได้อย่างสมบูรณ์แบบ อาวุธอื่นๆของยูนิคอร์นประกอบด้วยไฮเปอร์บาซูก้าและปืนกลบีมแก็ตลิง


Gundam UC


This is another cool image

GUNDA UC (Most liked!)

To me I quite preferred this Gundam series. It's quite seriously story and cool design of Gundam.

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 7 โมบิลไฟเตอร์จีกันดั้ม (G Gundam)

ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 7 โมบิลไฟเตอร์จีกันดั้ม (G Gundam) 


โมบิลไฟเตอร์จีกันดั้ม (ญี่ปุ่น: 機動武闘伝Gガンダム Kidō Butōden Jī Gandamu ? ; อังกฤษ: Mobile Fighter G Gundam) เป็นภาพนตร์อะนิเมะซีรีส์กันดั้มโดยเนื้อหามักจะเป็นการต่อสู้เป็นหลักออกอากาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 ออกอากาศทั้งหมด 49 ตอน
ในประเทศไทยลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายรูปแบบวีซีดีและดีวีดีเป็นของบริษัท ดรีมเอกซ์เพลส (เดกซ์) จำกัด ในชื่อ หุ่นนักสู้สะท้านปฐพี จี กันดั้ม และได้ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์เวลา 8.30-9.00 น.และได้ออกอากาศอีกครั้งทางช่องทรูสปาร์ค
 เนื้อเรื่องย่อ...
ในศักราชใหม่ Future Colony มนุษย์ส่วนหนึ่งได้อพยพจากโลกไปอยู่ในโคโลนี่บนอวกาศเพราะสภาพความเสื่อมโทรมของโลก และเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามระหว่างกัน ทำให้ทุกประเทศร่วมกันตั้ง "กันดั้มไฟท์" การแข่งขันซึ่งตัวแทนของแต่ละประเทศจะต้องส่งหุ่นนาม "กันดั้ม" ซึ่งควบคุมโดยนักสู้ที่เรียกกันว่า "กันดั้มไฟเตอร์" ออกมาต่อสู้ จนเหลือผู้ชนะเพียงหนึ่ง ประเทศของผู้ชนะจะได้รับสิทธิ์ในการปกครองสหพันธ์โคโลนี่ไปจนกว่าจะถึงการแข่งขันครั้งต่อไป โดยมีสังเวียนคือโลก
ในกันดั้มไฟท์ครั้งที่ 13 โดมอน ตัวเอกของเรื่องซึ่งต้องมาเป็นกันดั้มไฟท์ของนีโอเจแปน ต้องตามหาพี่ชายของตนเองที่นำเอา "เดวิลกันดั้ม" หนีมายังโลกก่อนจะเกิดหายนะพร้อมทั้งเพื่อช่วยพ่อของตนที่ถูกลงโทษแช่แข็งจำศีล จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ครั้งนี้

กันดั้มที่ปรากฎในเรื่อง

กันดั้มไฟเตอร์ตัวหลัก[แก้]

  • GF13-017NJ ไชน์นิ่งกันดั้ม (シャイニングガンダム)
  • GF13-017NJII ก็อดกันดั้ม (ゴッドガンダム)
  • GF13-006NA กันดั้มแม็กซ์เตอร์ (ガンダムマックスター)
  • GF13-009NF กันดั้มโรส (ガンダムローズ)
  • GF13-011NC ดราก้อนกันดั้ม (ドラゴンガンダム)
  • GF13-013NR โบลต์กันดั้ม (ボルトガンダム)

กันดั้มไฟเตอร์ตัวอื่นๆ[แก้]

  • GF13-050NSW โนเบลกันดั้ม (ノーベルガンダム)
  • GF13-021NG กันดั้มสปีเกล (ガンダムシュピーゲル)
  • GF13-026ND เมอร์เมดกันดั้ม (マーメイドガンダム)
  • GF13-030NIN คอบร้ากันดั้ม (コブラガンダム)
  • GF13-066NO เนเธอร์กันดั้ม (ネーデルガンダム)
  • GF13-041NSI อาชูร่ากันดั้ม (アシュラガンダム)
  • GF13-044NNP มันดารากันดั้ม (マンダラガンダム)
  • GF13-055NI นีรอสกันดั้ม (ネロスガンダム)
  • GF12-035NH (→GF13-001NH) เกาลูนกันดั้ม (クーロンガンダム)

เดวิลกันดั้ม[แก้]

  • JDG-009X เดวิลกันดั้ม (デビルガンダム) / อัลติเมทกันดั้ม (アルティメットガンダム)
กันดั้มของดร.กัซถูกสร้างขึ้นเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติโดยในอดีตมีชื่อว่าอัลติเมทกันดั้มแต่สาเหตุที่ชื่อเดวิลกันดั้มเนื่องจากระบบรวนหลังจากถูกกระแทกในโลกทำให้กลายเป็นกันดั้มที่ชั่วร้ายและพัฒนากลายเป็นสุดยอดกันดั้ม
  • GF13-001NHII มาสเตอร์กันดั้ม (マスターガンダム)
  • แกรนด์กันดั้ม (グランドガンダム)
  • วอลเทอร์กันดั้ม (ウォルターガンダム)
  • กันดั้มเฮฟเวนซอร์ด (ガンダムヘブンズソード)
  • แกรนด์มาสเตอร์กันดั้ม (グランドマスターガンダム)
  • กันดั้มเฮด (ガンダムヘッド)
  • เดธอาร์มี (デスアーミー)
    • เดธดราก้อน (デスドラゴン)
    • เดธบีสต์ (デスビースト)
    • เดธเบิร์ดดี้ (デスバーディ)
    • เดธแบท (デスバット)
    • เดธนาวี (デスネイビー)
    • เดธมาสเตอร์ (デスマスター)
  • ฟุอุนไซกิ (風雲再起)


เครดิต Wikipedia 

G-Self from Gundam Reconguista in G โมเดลเวอร์ชั่น High Grade

High Grade G-Self from Gundam Reconguista in G

 

เข้าชมตาม link นี้ได้เลย

 

 http://www.collectiondx.com/news_item/9114/high_grade_gself_gundam_reconguista_g_updated

G Self

โดยส่วนตัว กันดั้มภาคนี้ดูเหมือนจะออกแบบไปแนว กันดั้มสำหรับเด็กวัยรุ่น เนื่องจากตัวหุ่นที่ดูไม่ดุดันทำให้รู้สึกเช่นนั้น

ตลาดกลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็นช่วงวัยเดียวกันกลุ่มที่ชื่นชอบ Gundam Build Fighters

ภาพสตอรี่บอร์ดกันดั้ม

ภาพสตอรี่บอร์ดกันดั้ม

จากรูปน่าจะเป็น Z Gundam



Gundam Reconguista in G ชมภาพอาจารย์ Yoshiyuki Tomino ทำงานกันครับ





Gundam Reconguista in G

ชมภาพอาจารย์ Yoshiyuki Tomino ทำงานกันครับ

http://www.gunjap.net/site/?p=163332

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

DuelMasterNG Gunpla..... good blog


http://duelmasterng.blogspot.com/2011/07/ng-zgmf-x56sa-force-impulse-sword.html


PrimaryMH Gundam Base

คลิ้กลิ้งก์ข้างล่าง

PrimaryMH Gundam Base


สำหรับท่าที่ชอบ Gundam นะครับ เข้าไป click Like กับ get Follow up ได้เลย

กันดั้ม เนื้อเรื่องย่อของกันดั้มในช่วง UC (Universal Century)

กันดั้ม เนื้อเรื่องย่อของกันดั้มในช่วง UC (Universal Century)


U.C. 0079 Mobile Suit Gundam
 ปฐมบทแห่งกันดั้ม สงคราม 1ปี ระหว่างสหพันธุ์โลกและซีออน เรื่องราวของเจ้าหนุ่มอามุโร่ เรย์ เด็กอายุ 15 ที่ต้องรับภาระนักบินประจำกันดั้มรุ่นทดสอบโดยไม่เต็มใจและ ดาวหางแดง ชาร์ อัสนาเบิ้ล ACE Pilot แห่งซีออน จุดเริ่มแห่งโชคชาตะที่ทั้งสองต้องเป็นศัตรูกัน โดยที่มีสงครามที่โหดร้ายเป็นฉากหลัง

ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 6 กันดั้ม วี (Victory Gundam)


โมบิลสูทวิกทอรี่กันดั้ม (V Gundam) (โทรทัศน์ - 1993)

U.C. 0153 Mobile Suit Victory Gundam 
การต่อสู้กันของอาณาจักร ซันสการ์ และสหพันธ์โลก นำโดยหนุ่มน้อย(อีกแล้ว) อูโซ๋ ผู้ซึ่งขับ V กันดั้มซึ่งประจำอยู่กับหน่วยเล็กๆที่เป็นหน่วยเดียวที่ขวางทางอาณาจักร ซันสการ์อยู่ ความหวังของสหพันธ์ ต้องมาฝากไว้กับเด็กน้อยนิวไทปฺอีกครั้ง เหมือนครั้งสงคราม 1 ปี

ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 5 กันดั้ม 0083

โมบิลสูทกันดั้ม 0083 : สตาร์ดัสต์เมโมรี่ (OVA) - 1991, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 1992)


กันดั้ม 0083 : ความทรงจำแห่งละอองดาว (อังกฤษ: Gundam 0083: Stardust Memory)

เป็นเรื่องราวการต่อสู้หลังจากที่ซีออนได้พ่ายแพ้ในศึกสงครามที่อาบาวคู และมีซีออนกลุ่มหนึ่งหนีออกจาก อาบาวคู ไปซ่อนตัวเพื่อรอเวลาแห่งการแก้แค้น และ เพื่อความหวังที่จะจุดประกายความหวังให้กับเหล่าทหารซีออนนั้นคือแผนการขโมยโมบิลสูทรุ่นใหม่ของพันธมิตรกันดั้มที่กำลังพัฒนาขึ้นโดยใช้คอนเซปต์ทางอาวุธของโมบิลอาร์เมอร์ในการสร้างโดยใช้ชื่อว่า จีพี (GP - Gundam development Project) โดยมี อนาเวล กาโต้ ฉายา "ฝันร้ายแห่งโซโลม่อน" เป็นหัวหอกให้แผนปฏิบัติการนี้เป้าหมายคือการขโมยกันดั้มเครื่องทดสอบ เครื่องที่2 GP-02 ซึ่งมีการติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์นับเป็นการละเมิด สนธิสัญญาแอนตาร์คติก หากเขานำมันไปเปิดเผยแก่สายตาชาวโลกจะมีผลทางการเมืองที่จะเป็นประโยชณ์แก่ซีออน แต่โค อุรากิ นักบินทดสอบได้เผชิญหน้ากับเขาระหว่างการขโมยกันดั้ม GP-02 และเข้าขัดขวางโดย โค อุรากิ นั้นขับโมบิลสูทกันดั้ม GP-01 (ซึ่งภายหลังได้อัพเกรดเป็น GP-01Fb (Full burner)) ในการเข้าต่อกรเพื่อการชิงกันดั้มกลับคืนมา

หลังจากที่กันดั้มถูกขโมยไปได้นั้น โค อูรากิ ได้รู้ถึงความน่ากลัวของสงคราม และตัดสินใจเลือกที่จะเผชิญหน้าแทนการหนีจากความจริง ปัจจุบัน บริษัท dream Express จำกัด ของประเทศได้ลิขสิทธิ์ในการจัดทำเป็น Vcd และ dvd แล้วโดยออกวางจำหน่ายในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 4 กันดั้ม F91

โมบิลสูทกันดั้ม F91 (ภาพยนตร์ - 1991)










โมบิลสูทกันดั้ม F - 91 เป็นการเล่าเรื่องราวถึง กลุ่ม ครอสโบน แวนการ์ด ที่นำกำลังทหารเข้ารุกรานโคโลนี ฟรอนเทียร์ โคโลนีอันอยู่ใต้การปกครองของสหพันธ์โลก ซีบุค อาโน ผู้อาศัยอยู่ใน โคโลนี ฟรอนเทียร์ หมายเลข4 และเพื่อน ขณะที่กำลังหลบหนีจากการโจมตี กลุ่ม ครอสโบน แวนการ์ด ได้เข้ามาลักพาตัวเพื่อนของ ซีบุค อาโน ที่ชื่อ เซซิลี แฟร์ชาย ซึ่งเป็น ลูกสาวของหัวหน้ากลุ่ม ครอสโบน แวนการ์ด อาโน และเพื่อนที่เหลือจึงหนีไป ด้วยยานกู้ภัยและ ถูกคนของทางกองทัพสหพันธโลกยื้อตัวเข้าไปช่วยในสงครามเพื่อแย่งชิง ฟรอนเทียร์ คืนภายหลังเมื่อกองทัพโลกรู้ว่า อาโนนั้นคือนิวไทบ์ที่หายากยิ่งแล้ว จึงใช้เพื่อนและน้องสาวของอาโนบังคับให้อาโนออกสู้ ด้วยโมบิลสูทรุ่น ทดลองที่ชื่อF-91

หลังจากที่อาโน พบขึ้นขับF-91ในสนามรบก็พบกับ เซซิลี แฟร์ชาย อีกครั้งในครั้งนี้เธอเป็นนักบินของกลุ่มครอสโบน เมื่อทั้งคู่รู้ตัวว่ากำลังสู้กับใคร ทั้งคู่จึง ร่วมมือกันทำลายแผนของกลุ่มครอสโบน ที่จะใช้ บัคและโมบิลอาเมอ ราเฟิลเซีย ทำลายล้างระบบของสหพันธ์ที่กำลังปกครอง โคโลนีอยู่


ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 3 กันดั้ม 0080

โมบิลสูทกันดั้ม 0080 : วอร์อินเดอะพอกเก็ต (โอวีเอ - 1989)

โมบิลสูทกันดั้ม 0080 (ญี่ปุ่น: 機動戦士ガンダム0080 ポケットの中の戦争 Kidō Senshi Gundamu 0080 (Gundam Double-O Eighty) Poketto no Naka no Sensō ?) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม ออกแบบตัวละครโดย ฮารุฮิโกะ มิกิโมโตะ ออกแบบโมบิลสูทโดย คุนิโอะ โอคาวาระ และร่วมออกแบบโดย ยูทากะ อิซุบุจิ ผลงานเรื่องนี้มี ฟูมิฮิโกะ ทากายามะ เป็นผู้กำกับ นับเป็นผลงานเรื่องแรกในซีรีส์กันดั้มที่ โยชิยูกิ โทมิโนะ ไม่ได้เป็นผู้กำกับ และถูกสร้างออกมาในรูปแบบโอวีเอ ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1989 มีความยาวทั้งสิ้น 6 ตอนจบ


ในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้ม 0080 ได้รับลิขสิทธิ์จัดทำเป็นวีซีดีและดีวีดีโดย DEX



ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 2 ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค

โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (Char's Counter Attack) (ภาพยนตร์ - 1988)





โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (ญี่ปุ่น: 機動戦士ガンダム 逆襲のシャア คิโดเซนชิ กันดั้ม เกียคุชู โนะ ชาร์ ; อังกฤษ: Mobile Suit Gundam Char's Counter Attack) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกในโรงภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1988 และเป็นแอนิเมชันกันดั้มเรื่องแรกที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์โดยเฉพาะ (แอนิเมชันกันดั้มเรื่องต่อมาที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์คือ โมบิลสูทกันดั้ม F91 ซึ่งออกฉายในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1991) โดยเป็นผลงานกำกับของ "โยชิยูกิ โทมิโนะ" บุคคลซึ่งถือว่าเป็นบิดาของกันดั้ม ผู้มีชื่อเล่นตามเว็บไซต์ของฝั่งอเมริกาว่า "ฆ่ามันให้เหี้ยน โทมิโนะ" เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของเขามักจะให้ตัวละครตายอย่างไม่ปราณีคนดู


ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 1 กันดั้ม 0079, เซต้ากันดั้ม, ดับเบิ้ลเซต้ากันดั้ม

มาเริ่มที่ตัวแรกกันครับ...

โมบิลสูทกันดั้ม (Gundam) หรือ กันดั้ม 0079 (โทรทัศน์ - 1979, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์สามภาค - 1981-1982) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2524 ทางช่อง 7 สี ใช้ชื่อ อภินิหารกันดั้ม








ตัวต่อมา เป็น ซีต้ากันดั้มครับ ตอนที่ออกมาใหม่ๆ ผมชอบมากไอ้ตัวนี้ อาจจะแปลกตาที่มันแปลงร่างเป็นเครื่องบินได้ (Wave Rider mode) ตอนนั้นถึงขั้นจ่ายเงินสองพันซื้อ Plamo มาต่อเองเลย สเกล 1/100 MG ด้วยครับ


โมบิลสูทเซต้ากันดั้ม (Zeta Gundam, Z-Gundam) (โทรทัศน์ - 1985, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 2005)
 นักบินตัวเอกชื่อ คามิว บีดัน
ฉบับ TV


ตัดต่อใหม่ฉบับภาพยนต์




โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลเซต้า (Gundam ZZ) (โทรทัศน์ - 1986)
นักบินตัวเอกชื่อ ชู้ต อาซตะ




ถัดจาก Gundam ZZ จะเป็นภาพเสริม เข้ามาครับ ส่วนใหญ่จะท้าวความย้อนกลับไป หรือไปอุดช่องโหว่หรือช่องที่พอจะสร้างเป็นเรื่องขึ้นมาใหม่ได้

จะมีตามนี้ครับ

โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (Char's Counter Attack) (ภาพยนตร์ - 1988)
โมบิลสูทกันดั้ม 0080 : วอร์อินเดอะพอกเก็ต (โอวีเอ - 1989)
โมบิลสูทกันดั้ม F91 (ภาพยนตร์ - 1991)
โมบิลสูทกันดั้ม 0083 : สตาร์ดัสต์เมโมรี่ (OVA) - 1991, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 1992)

เดี๋ยวค่อยมาต่อกันว่าแต่ละตอนมีเนื้อเรื่องยังไงบ้าง



วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Gundam RX models มีสามรุ่นครับ

กันดั้มในยุคแรก โมเดลรุ่น RX มีสามตัว (เท่าที่ผมรู้นะครับ)

Gundam ตัวแรกที่ปรากฎโฉมใน Anime Series ทาง TV คือตัวที่อามุโร่ เรย์ ขับ RX-78-2


ส่วนตัว RX-78-1 and RX-78-3 ถูกพวกซีออน ทำลายหมดตอนที่สู้ ถล่มกันที่พื้นโลก

ตัวนี้ครับ RX-78-1 Prototype Gundam
อีกตัวเรียกว่า G3 หรือชื่อเต็มยศคือ Gundam RX-78-3 "G3"


RX-78-02.... Gundam Plastic Model (GUNPLA)

RX-78-02


Credit http://toys-and-hobbies.blogspot.com/2011/07/gff-metal-composite-rx-78-2-gundam.html

กันดั้ม ตัวเป็นๆที่ญี่ปุ่นครับ




แนะนำเที่ยวชมกันดั้มตัวบิ๊กที่ญี่ปุ่น >> คลิ๊กอ่าน

DiverCity Tokyo Plaza
icon เวลาเปิด-ปิด: 10:00-21:00 น.
icon 3-Fare ค่าเข้าชม: ชมห้างสรรพสินค้าฟรี, Gundam Front Tokyo : 1,000 เยน
icon 4-Direction การเดินทาง: รถไฟสาย Rinkai สถานี Tokyo Teleport ทางออก A หรือ สถานี Daiba ทางออก South
เที่ยวเกาหลี เที่ยวกรุงโซล GPS: 35.62521,139.775708

กันดั้ม ประวัติย่อๆ เรียงตามการออกฉายเป็นการ์ตูนอนิเมชั่น

ประวัติย่อๆ ของ GUNDAM







กันดั้ม (ญี่ปุ่น: ガンダム ; อังกฤษ: Gundam) เป็นซีรีส์แอนิเมชั่นญี่ปุ่น
เกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่อสู้ขนาดยักษ์ สร้างโดยบริษัทซันไรส์
กันดั้มนับเป็นอะนิเมะซีรีส์แรกซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการ์ตูนหุ่นยนต์แนวสมจริง
และยังคงมีการสร้างภาคต่อมาถึงปัจจุบัน ชื่อกันดั้มเป็นคำเรียกรวม ๆ
ของซีรีส์สองกลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ระบบปฏิทินแบบ Universal Century
เช่น โมบิลสูทกันดั้ม และกลุ่มจักรวาลคู่ขนานอื่นๆ เช่น กันดั้มวิง
กันดั้มเอกซ์ หรือ กันดั้มซี๊ด

ผู้กำกับและเขียนบทกันดั้มภาคแรก ๆ คือ โทะมิโนะ โยะชิยุกิ ผู้ออกแบบ
ตัวละครคือ ยะซุฮิโกะ โยะชิกะซุ หรือ YAS


โยชิยูกิ โทมิโนะ (Yoshiyuki Tomino)


ยะซุฮิโกะ โยะชิกะซุ (Yas)
คนนี้คนที่เคยอ่าน  Venus War หรือ ARION คงจะรู้จักดี
ยาส มีผลงาน anime และ manga ที่เด่นในเรื่องลายเส้น สะอาด อ่อนพริ้ว ผมชื่นชอบมาก




หนังสือการ์ตูนกันดั้ม ซึ่งเป็นการดัดแปลง ตัดทอน หรือขยายความจาก
เนื้อเรื่องในอะนิเมะซีรีส์ ปัจจุบันมีตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์
หลายแห่ง เช่น บงกช พับลิชชิ่ง และสยามอินเตอร์คอมิกส์

ซีรีส์แอนิเมชันกันดั้ม (เรียงลำดับตามการออกฉายในญี่ปุ่น)


โมบิลสูทกันดั้ม (Gundam) หรือ กันดั้ม 0079 (โทรทัศน์ - 1979, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์สามภาค - 1981-1982) ฉายในไทยปี พ.ศ. 2524 ทางช่อง 7 สี ใช้ชื่อ อภินิหารกันดั้ม
โมบิลสูทเซต้ากันดั้ม (Zeta Gundam, Z-Gundam) (โทรทัศน์ - 1985, ตัดต่อใหม่เพื่อฉายเป็นภาพยนตร์ - 2005)