Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติกันดั้ม ตอนที่ 2 ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค

โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (Char's Counter Attack) (ภาพยนตร์ - 1988)





โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (ญี่ปุ่น: 機動戦士ガンダム 逆襲のシャア คิโดเซนชิ กันดั้ม เกียคุชู โนะ ชาร์ ; อังกฤษ: Mobile Suit Gundam Char's Counter Attack) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกในโรงภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1988 และเป็นแอนิเมชันกันดั้มเรื่องแรกที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์โดยเฉพาะ (แอนิเมชันกันดั้มเรื่องต่อมาที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์คือ โมบิลสูทกันดั้ม F91 ซึ่งออกฉายในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1991) โดยเป็นผลงานกำกับของ "โยชิยูกิ โทมิโนะ" บุคคลซึ่งถือว่าเป็นบิดาของกันดั้ม ผู้มีชื่อเล่นตามเว็บไซต์ของฝั่งอเมริกาว่า "ฆ่ามันให้เหี้ยน โทมิโนะ" เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของเขามักจะให้ตัวละครตายอย่างไม่ปราณีคนดู



 เนื้อเรื่อง.... สาธารณรัฐซีออนที่ซึ่งกำลังอ่อนแอเนื่องจากเสียผู้นำไปจากครั้งการก่อกบฏใน ซีออนนั้น ได้รับการจุดประกายความหวังอีกครั้งเมื่อชายที่ชื่อ ชาร์ อัสนาเบิ้ล ซึ่งแท้จริงแล้วเขาคือ "แคสวัล เลม ไดคุน" ผู้สืบทอดของซีออนที่แท้จริงได้ปรากฏตัวขึ้นมาและนำกองทัพนีโอ ซีออน บุกโจมตีโลกอีกครั้ง โดยครั้งนี้พวกเขามีแผนที่จะใช้ ทิ้งลูน่าที่ 5 ซึ่งเป็นสถานีอวกาศที่เคยใช้ในการสร้างโคโลนี่เมื่อครั้งมนุษย์เริ่มออกเดินทางสู่อวกาศ, ลงสู่บนพื่นโลกซึ่งเป็นฐานทัพของกองทัพโลกซึ่งตั้งอยู่ ณ ทิเบต เมืองลาซา ทำให้หน่วยลอนโด เบลล์ กองกำลังอิสระภายใต้สังกัดกองทัพโลก ซึ่งมี อามุโร่ เรย์ ศัตรูคู่แค้นของชาร์ในสงครามหนึ่งปี ชายผู้นำชัยชนะมาสู่กองทัพโลก ซึ่งรับรู้ถึงแผนการอันชั่วร้ายของชาห์ ดังนั้นอามุโร่จึงต้องร่วมมือกับ ไบรท์ โนอา อดีตกัปตันไวท์เบสเมื่อครั้งสงครามหนึ่งปี ในการที่จะหยุดการกระทำครั้งนี้ รวมไปถึงการตัดสินขั้นเด็ดขาดกับชาร์อีกด้วย

ในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค ไม่เคยฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ได้ออกจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2548 โดยบริษัท ดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์)

โมบิลสูท ที่สำคัญในภาคนี้จะมีสองตัวครับ
โมบิลสูทประจำตัว ชาร์ อัสนาเบิ้ลในภาคนี้เป็นโมบิลสูทตัวแรกในจักรวาล UC ที่ติดตั้งระบบไซโคเฟรม ระบบที่ช่วยให้นิวไทป์ขับโมบิลสูทได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้ซาซาบีนั้นสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าหุ่นตัวอื่นในยุคเดียว กัน(และรักษาภาพลักษณ์ของชาร์ ที่มีฉายาว่า ดาวหางสีแดง) ทั้งยังสามารถใช้ฟันเนลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
อาวุธของซาซาบี ประกอบไปด้วย ฟันเนล 3 คู่ , บีมชอร์ต-ไรเฟิล ปืนสองลำกล้องที่ยิงได้ทั้งแบบไรเฟิลปกติและแบบกระสุนปรายอย่างลูกซอง , ปืนใหญ่มหาอนุภาคที่ติดตั้งไว้บริเวณเอวซึ่งสามารถจัดการศัตรูได้เป็นจำนวน มากภายในการยิงหนึ่งครั้ง และ บีมโทมาฮอคซอร์ดทีใช้เป็นอาวุธระยะประชิดสองเล่ม
โมบิลสูทของอามุโร่ เรย์ ที่ปรากฏออกมาในช่วงกลางของเรื่อง มีลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับซาซาบีคือติดตั้งระบบไซโคเฟรมไว้เช่นกัน (ซึ่งในช่วงท้ายสุด ระหว่างการประจันหน้าบนแอกซิสที่กำลังตกลงมา ชาร์สารภาพกับอามุโร่ว่าตนเป็นผู้แอบมอบไซโคเฟรมให้อามุโร่ เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้คู่แข่งของเขาใช้หุ่นดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพ ต่างจากซาซาบีมากเกินไป) จึงทำให้เครื่องยนต์ของนิวกันดั้มมีความคล่องแคล่วสูสีกับซาซาบี
สำหรับอาวุธของนิวกันดั้มนั้นประกอบไปด้วยอุปกรณ์พื้นฐานอย่าง บีมไรเฟิล , บีมเซเบอร์ , บาซูก้า , โล่ซึงติดตั้งบีมแคนน่อนและมิซไซล์อีกสี่ลูก แต่จุดที่ทำให้นิวกันดั้มโดนเด่นกว่าหุ่นตัวอื่นๆนั่นก็คือ ฟิน ฟันเนล จำนวนหกชิ้นที่ติดตั้งไว้ที่หลัง ความแตกต่างของมันกับฟันเนลทั่วไปนั้นอยู่ตรงที่ ฟิน ฟันเนล จะมีเครื่องกำเนิดพลังงานภายในตัว จึงไม่จำเป็นต้องกลับไปชาร์จพลังงานจากหุ่นตัวแม่ที่ปล่อยมันออกมา รวมไปทั้งฟิน ฟันเนลแต่ละชิ้นสามารถทำความรุนแรงได้ใกล้เคียงกับปืนใหญ่ของยานแม่ นอกจากนี้ฟิน ฟันเนลยังสามารถสร้าง บีมบาเรีย ที่สามารถป้องกันการโจมตีหรือใช้กักขังศัตรูไว้ให้อยู่ในอาณาเขตของบาเรีย อีกด้วย


เครดิต..... จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภาพยนต์ภาคนี้ทำออกมาได้ดีมากๆครับ ทั้งฉากการสู้รบ เนื้อหา ความเป็นดราม่า จังหวะของเรื่อง และตัว Nu Gundam เองที่ออกแบบมาได้ครบเครื่อง สวยมากๆ (ใครอยากได้ตัวเป็นๆมาเป็นเจ้าของ ซื้อโมเดลมาลองเล่นดูได้ครับ มีเยอะ ทั้งเกรดดีๆ พวก MG / RG ที่ชิ้นส่วนเยอะๆ ความละเอียดมากๆ ดัวนั้น ภาพยนต์ในภาพนี้แฟนๆกันดั้มจึงยกให้เป็นภาคที่สนุดและดีระดับห้าดาวเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น